กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กันยายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
ประธานวุฒิสภานำคณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 ณ จังหวัดบาหลี อินโดนีเซีย เป็นวันที่สี่

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 26 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นวันที่สี่ ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติบาหลี (BICC) เขตนูซาดัว จังหวัดบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยสรุปภารกิจของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ดังนี้ 

1. ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้นำคณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าพบปะหารือทวิภาคีกับ Dr. Puan Maharani ประธานสภาผู้แทนราษฎร สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Speaker of Dewan Perwakilan Rakyat: DPR) เมื่อเวลา 10.00 น. ณ ห้อง Lily ศูนย์การประชุมนานาชาติบาหลี (BICC) โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนกันในหลากหลายประเด็นของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ได้แก่ การสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วยดีเสมอมาในฐานะมิตรประเทศอาเซียน ในกรอบความร่วมมือพหุภาคีที่ทั้งสองฝ่ายเป็นภาคีสมาชิก ได้แก่ IPU AIPA APPU APPF GOPAC และทิศทางการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองฝ่าย ผ่านกลไกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศ 

โดยทั้งสองฝ่ายต่างหวังว่าปฏิสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างภาคนิติบัญญัติของไทยและอินโดนีเซียจะกลับมาใกล้ชิดแน่นแฟ้นหลังจากภาวะวิกฤตโควิด-19 คลี่คลายลง โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไปที่ทั้งสองประเทศจะเริ่มเปลี่ยนสถานะให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคประจำถิ่น เพื่อผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าได้ อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นความร่วมมือด้านการศึกษา การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง ผ่านบทบาทของสตรีในรัฐสภา และการย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียไปยังเมืองนูซันตารา (Nusantara) บนเกาะบอร์เนียว ในโอกาสดังกล่าว ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเชิญประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียให้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Parliamentary Forum: APPF) ครั้งที่ 30  ซึ่งรัฐสภาไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ สัปปายะสภาสถาน กรุงเทพฯ ในช่วงเดือน ต.ค. 65 (โปรดดูรายละเอียดของการสนทนาหารือทวิภาคีระหว่างประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ปรากฏในข่าวประชาสัมพันธ์ตามลิงก์
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=285079650448683&id=100068399499635)
 
2. ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาแบบเต็มคณะเป็นวันที่สาม โดยนอกจาก การรับฟังการกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนจากรัฐสภาประเทศสมาชิก ในหัวข้อ Climate Change เป็นวันสุดท้ายแล้ว ยังมีวาระสำคัญ ได้แก่ การพิจารณารับรองร่างข้อมติวาระเร่งด่วนว่าด้วยการแก้ไขวิกฤตในยูเครนโดยสันติวิธี  ซึ่งที่ประชุมได้รับรองโดยฉันทานุมัติต่อข้อมติดังกล่าวซึ่งผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมโดยคณะกรรมาธิการยกร่างข้อมติซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ทั้ง 6 ภูมิภาค โดยมีประเทศสมาชิกบางประเทศได้ตั้งข้อสงวนต่อร่างข้อมติดังกล่าว รวม 9 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน เบลารุส จีน อิหร่าน แอฟริกาใต้ ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนามและซิมบับเว 

จากนั้น คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้รับการเชิญให้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาฯ ในช่วงพิเศษของ    การอภิปรายทั่วไป "Special accountability segment: Follow-up actions by Members on IPU resolutions and other decisions" เพื่อนำเสนอประสบการณ์ของไทยในการดำเนินการตามข้อมติของสหภาพรัฐสภาและการตัดสินใจอื่น ๆ ของ IPU ที่ผ่านมา โดยประเทศไทยได้รับการจัดสรรให้นำเสนอเรื่อง  การติดตามการดำเนินการของรัฐสภาในด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา 

ในการนี้ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้นำเสนอให้ที่ประชุมสมัชชาได้รับทราบว่า รัฐสภาไทยมีกลไกสำหรับการนำเสนอรายงานกิจกรรมของ IPU ผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา ให้สมาชิกรัฐสภาได้รับทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง รวมทั้งรายงานของ IPU ว่าด้วยสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาที่เกิดขึ้นทั่วโลกด้วย รวมถึง รายงานให้ที่ประชุมสมัชชา IPU ได้รับทราบว่า ประธานรัฐสภาไทยได้มีหนังสือเป็นทางการถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เมื่อเดือน เม.ย. 64 เพื่อขอให้รัฐบาลไทยยึดหลักไม่ผลักดันผู้หนีภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมากลับไปสู่อันตราย และปฏิบัติต่อผู้หนีภัยชาวเมียนมาตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการและแนวปฏิบัติที่ไทยยึดถือมาช้านาน ในการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หนีภัยความไม่สงบในประเทศของตนที่อพยพข้ามพรมแดนมาแสวงหาที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย 

3. นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้เข้าร่วมการประชุมคู่ขนานในกรอบต่าง ๆ ที่สำคัญของสหภาพรัฐสภา ตลอดวันพุธที่ 23 มี.ค. 65 ดังนี้

3.1 การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ระหว่างเวลา 09.30 – 12.30 น. นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการอภิปราย ในหัวข้อ “The role of parliaments in reconciling health measures during a pandemic with the preservation of civil liberties” โดยได้ร่วมอภิปรายถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างความห่วงกังวลต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองโดยการใช้อำนาจของรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าวซึ่งจำเป็นต้องแลกกับการสละสิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่ประชาชนเคยมีในภาวะปกติเป็นการชั่วคราว โดยหลายประเทศได้ใช้อำนาจเกินความจำเป็น และคงมาตรการฉุกเฉินไว้เป็นเวลายาวนาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ เป็นต้น โดยไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เยาวชนมีความตื่นตัวในการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตน ดังนั้น รัฐสภาจะพึงรักษาดุลยภาพระหว่างมาตรการควบคุมโรคระบาดที่จำเป็นกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง และใช้กลไกต่าง ๆ ของรัฐสภาเพื่อเป็นความหวังของประชาชน อาทิ การตรวจสอบนโยบายฉุกเฉินของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อประชาชน รวมถึงบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนจากแหล่งต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดในอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

3.2  การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เป็นวันที่สาม เวลา 14.30 – 16.30 น. โดยนายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมในการพิจารณารับรองร่างข้อมติ ร่างสุดท้าย ในหัวข้อ “Rethinking and reframing the approach to peace processes with a view to fostering lasting peace” ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญฯ ได้ปรับแก้ไขตามที่คณะฯ ได้พิจารณาร่วมกันในช่วงสองวันที่ผ่านมา  โดยข้อเสนอขอแก้ไขร่างข้อมติของไทยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากที่ประชุม รวม 10 ข้อ จากที่เสนอไปทั้งหมด 15 ข้อ โดยในบางข้อเป็นการผนวกเนื้อหากับคำขอแก้ไขร่างข้อมติของแอฟริกาใต้ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหารือร่วมกับฝ่ายแอฟริกาใต้ภายในระยะเวลาที่จำกัดก่อนที่จะได้ข้อสรุปเสนอต่อที่ประชุม  ทั้งนี้ นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่าร่างข้อมติที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้วโดยฝ่ายเลขานุการคณะฯ สอดคล้องตรงตามเนื้อหาที่ได้ผ่านการอภิปรายของที่ประชุม จึงเห็นควรเสนอให้ที่ประชุมมีมติรับรองร่างข้อมติดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ไทยเสนอโดยไม่มีประเทศใดคัดค้าน 

3.3  ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วมการประชุมของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการฯ (Bureau meeting) เวลา 08.30 – 10.30 น. ซึ่งมีวาระสำคัญที่คณะฯ จะต้องพิจารณา รวม 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การวางแผนงานในอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 145 และ 146 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกร่างข้อมติ หัวข้อ “Parliamentary efforts in achieving negative carbon balances of forests" เสนอโดย Mr. Andries Gryffroy สมาชิกรัฐสภาเบลเยียม ซึ่งมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับความพยายามในการลดอุณหภูมิของโลกลง 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน และ 2) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของสหภาพรัฐสภาฉบับใหม่ ระยะปี ค.ศ. 2022 – 2026 เพื่อให้มั่นใจได้ว่ายุทธศาสตร์ของสหภาพรัฐสภาฉบับนี้จะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมุ่งเป้าไปที่ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบาง ในการนี้ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ได้อภิปรายสนับสนุนข้อเสนอหัวข้อร่างข้อมติของเบลเยียม รวมทั้ง ได้เสนอแนะให้มองปัญหาในภาพรวมและเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมการทำงานของภาครัฐสภาในมิติอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบถ่วงดุล การจัดสรรงบประมาณ และการทำหน้าที่ตัวแทนที่เป็นปากเสียงสะท้อนความต้องการของประชาชน
 
ต่อมาในเวลา 17.00 – 18.30 น. ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ประชุมได้มีมติสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) รับรองข้อมติว่าด้วย "Leveraging information and communication technology (ICT) as an enabler for the education sector during the pandemic" เพื่อเสนอให้ที่ประชุมสมัชชาพิจารณารับรองในวันที่ 24 มี.ค 65 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชา และ 2) ให้การรับรอง หัวข้อ “Parliamentary efforts in achieving negative carbon balances of forests" เป็นหัวข้อของการพิจารณาจัดทำเป็นร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการสามัญฯ ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 145 และ 146 ต่อไป 

3.4 นอกจากนั้น เมื่อเวลา 09.30 – 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นบาหลี น.ส.เพชรดาว  โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข (Advisory Group on Health: AGH) ได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ Bappeda Provinsi Bali โดยรับฟังการบรรยายจากผู้แทนองค์กรในระบบสหประชาชาติ สหภาพรัฐสภา และการนำเสนอโครงการโดยหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดบาหลี ในประเด็นเฉพาะทางด้านการเสริมพลังสตรีและปกป้องสิทธิเด็ก  

อนึ่ง ในช่วงค่ำ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่มีนายพีระพนธ์ ประยูรวงษ์ กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองเดนปาซาร์ เป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานวุฒิสภาและคณะ ณ ภัตตาคาร Bali Nikmat จังหวัดบาหลี 

เครดิต : ภาพและข่าวโดยฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 กลุ่มงานสหภาพรัฐภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th