กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กันยายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
ประธานวุฒิสภา นำคณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 ณ จังหวัดบาหลี อินโดนีเซีย เป็นวันที่ห้า

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 26 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติบาหลี (BICC) เขตนูซาดัว จังหวัดบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นวันที่ห้า ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม โดยสรุปภารกิจของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ดังนี้ 

1. การประชุมคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภา (Bureau of Women Parliamentarians) ครั้งที่ 47 เป็นวันสุดท้าย เมื่อเวลา 08.00 น. น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ปฏิบัติหน้าที่แทนนางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (โดยตำแหน่ง) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาวาระต่อเนื่องจากการประชุมในวันแรก ประกอบด้วย การรับฟังการบรรยายจาก Ms. Pramila Patten ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยความรุนแรงทางเพศในภาวะความขัดแย้ง ร่วมกับเลขาธิการสหภาพรัฐสภา ในประเด็นของการปฏิบัติต่อสตรีโดยใช้ความรุนแรงทางเพศเป็นเครื่องมืออย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอผลงานที่ผ่านมาของสหภาพรัฐสภาสตรี  ในการส่งเสริมให้สตรีได้ยกระดับบทบาททางการเมืองมากยิ่งขึ้น อาทิ รายงานสตรีในรัฐสภา ประจำปี 2564 (Women in politics 2021) จัดทำโดย IPU ร่วมกับ UN Women รายงานว่าด้วยการเหยียดเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ และความรุนแรงต่อสตรีในรัฐสภาในกลุ่มประเทศแอฟริกา รวมถึงการจัดเตรียมชุดแบบสอบถามที่จะขอความร่วมมือให้รัฐสภาสมาชิกร่วมตอบในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของแผนปฏิบัติการว่าด้วยรัฐสภาที่คำนึงถึงประเด็นด้านเพศภาวะ (Plan of Action for Gender-Sensitive Parliaments) เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามแผนดังกล่าว 

2. การประชุมคณะมนตรีบริหาร (Governing Council) ในวาระที่สอง ในช่วงเช้า ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ในระเบียบวาระที่ยังค้างการพิจารณาต่อเนื่องจากวาระที่หนึ่งเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 65 ได้แก่ รายงานสถานะทางการเงินของ IPU ประจำปี 2564 ซึ่งนอกจากสภาพการเงินของ IPU ที่มีเสถียรภาพโดยรวมแล้ว ยังมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีภายใน (internal auditor) ของ IPU ที่อาจสิ้นสมาชิกภาพสมาชิกรัฐสภาในระหว่างที่ยังไม่หมดวาระ และการพิจารณาขึ้นค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติที่ทำงานให้กับของ IPU 

ต่อมา ที่ประชุมได้รับทราบการรายงานสถานการณ์ของรัฐสภาสมาชิกบางประเทศ (situation of certain parliaments) ซึ่งอยู่ระหว่างไม่มีรัฐสภาทำหน้าที่อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญในวิถีประชาธิปไตย ตามที่คณะกรรมการบริหาร IPU เสนอ ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน บูกินาฟาโซ เมียนมา และซูดาน และประเทศที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางการเมือง ได้แก่ ลิเบีย มาลี ตูนิเซีย เวเนซุเอลา ชาด กินี เอสวาตินี กินี-บิสเซา ไฮติ ปาเลสไตน์ เซาท์ซูดาน ซีเรีย และเยเมน โดยซูดานได้ถูกระงับสมาชิกภาพของ IPU เนื่องจากค้างชำระค่าบำรุงสมาชิกภาพต่อเนื่องเกิน 3 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ สำหรับกรณีเมียนมา แม้รัฐบาลทหารจะประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2566 ก็ตาม แต่สหภาพรัฐสภาได้มีมติเปลี่ยนสถานะของเมียนมาเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ IPU และจะยังคงรับรอง CRPH (รัฐสภาพลัดถิ่น) ของเมียนมาให้ดำรงสถานะเป็นคู่เจรจาที่ชอบธรรมของ IPU ต่อไป 

จากนั้น ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารฯ ได้พิจารณาคำวินิจฉัย (decisions) ของคณะกรรมการว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (Committee on the Human Rights of Parliamentarians) ต่อกรณีข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาจากประเทศสมาชิกทั่วโลก โดยในครั้งนี้มีกรณีที่คณะกรรมการฯ ได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุม ทั้งหมดจาก 10 ประเทศ ได้แก่ เบลารุส เอกวาดอร์ อียิปต์ เอสวาตินี ลิเบีย เมียนมา ปาเลสไตน์/อิสราเอล ยูกันดา และเวเนซุเอลา โดยสำหรับกรณีเมียนมาที่มีข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภารวม 62 กรณีนั้น IPU ได้เรียกร้องให้สมัชชารัฐสภาอาเซียนหรือ AIPA ซึ่งเป็นองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศของภูมิภาคอาเซียนให้ยกระดับการดำเนินการเพื่อกดดันให้มีการเคารพหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาในเมียนมา และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสมาชิกรัฐสภาเมียนมาที่ได้รับอาณัติจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2564 

หลังจากนั้น ที่ประชุมได้รับฟังการรายงานจากคณะกรรมการเฉพาะด้าน (specialized bodies) ซึ่งเป็นหน่วยที่อยู่ภายใต้อาณัติของคณะมนตรีบริหารฯ รวม 8 คณะ และการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาที่เสนอชื่อโดยประเทศสมาชิกเพื่อดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ใน IPU ที่ว่างลง โดยในการประชุมในครั้งนี้ ไม่มีตำแหน่งใดว่างลงในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ของ IPU ที่อยู่ในสัดส่วนของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก 

3. ในช่วงบ่าย ที่ประชุมเต็มคณะได้เปลี่ยนเข้าสู่การพิจารณาวาระของสมัชชา (Assembly) ซึ่งที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์นูซาดัว (Nusa Dua Declaration) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการอภิปรายทั่วไปของที่ประชุมสมัชชา ว่าด้วยบทบาทของรัฐสภาในการเร่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการพัฒนากรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนดร่วมกันของประชาคมโลกและพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมถึงได้รับฟังรายงานจากคณะกรรมาธิการสามัญของ IPU ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมได้มีมติโดยฉันทานุมัติรับรองร่างข้อมติ 2 ฉบับที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจน มีมติรับรองหัวข้อที่จะจัดทำเป็นร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการสามัญทั้งสองสำหรับการประชุมสมัชชา ครั้งที่ 146 ณ กรุงมานามา ราชอาณาจักรบาห์เรน ด้วย 

ก่อนพิธีปิดการประชุม ที่ประชุมได้รับชมคลิปวีดิทัศน์ ที่ผู้แทนรัฐสภารวันดาได้นำเสนอเพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกส่งคณะผู้แทนเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชา ครั้งที่ 145 ณ กรุงคิกาลี ในเดือนตุลาคม 2565 และได้รับฟังคำกล่าวปิดการประชุมจากประธานกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ทั้ง 6 กลุ่ม ตามธรรมเนียมปฏิบัติของ IPU ในการนี้ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาและหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงปิดการประชุมในนามกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Geopolitical Group: APG) ตามการร้องขอของเวียดนาม ซึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะกิจของกลุ่มฯ มีความว่า กลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกขอขอบคุณและชื่นชมสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ที่ได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั่วโลก รวมถึงคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ด้วยความอบอุ่นและน่าประทับใจยิ่ง และแสดงความยินดีที่ประเทศเจ้าภาพภายใต้การนำของ Dr. Puan Maharani ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศขนาดใหญ่ในช่วงเวลาที่การแพร่ระบาดใหญ่ยังคงเป็นปัจจัยท้าทายอยู่ ได้อย่างราบรื่นเป็นที่น่าชื่นชม และสามารถดูแลเอาใจใส่ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมปลอดภัยและมีความมั่นใจในมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็งของอินโดนีเซียตลอดระยะเวลาของการประชุม นอกจากนี้ ยังได้กล่าวชื่นชมสหภาพรัฐสภา ผ่านประธานสหภาพรัฐสภาและเลขาธิการสหภาพรัฐสภาที่มีความมุ่งมั่นและทำงานอย่างหนักในการอำนวยให้เกิดโอกาสในการสานเสวนาระหว่างประเทศสมาชิกทั่วโลก เพื่อให้มาร่วมกันปรึกษาหารือ ตัดสินใจและกำหนดท่าทีร่วมกันของภาคนิติบัญญัติ ในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อยู่ในวาระสำคัญของโลกในขณะนี้  โดยรัฐสภาไทยและกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกสนับสนุน 'แถลงการณ์นูซาดัว' ว่าด้วยบทบาทของภาครัฐสภาในการร่วมมือกันเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงและเร่งด่วนที่สุดของมนุษยชาติ และพร้อมจะทำงานร่วมกับ IPU และกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ อย่างใกล้ชิดผ่านกลไกการทูตรัฐสภา เพื่อร่วมขับเคลื่อนให้ประชาคมโลกสามารถบรรลุสันติภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความผาสุกของประชาชนทุกคน  

ในตอนท้าย ที่ประชุมได้รับฟังถ้อยแถลงปิดการประชุมของ Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภาและ Dr. Puan Maharani ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียในฐานะประธานสมัชชาฯ จะปิดการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 อย่างเป็นทางการในเวลา 16.00 น. 

เครดิตภาพและข่าว : ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144  กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th