กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« สิงหาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการอภิปรายเนื่องในวันประชาธิปไตยสากล (International Day of Democracy) ประจำปี 2565 ในรูปแบบออนไลน์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 20.30 - 22.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการอภิปรายเนื่องในวันประชาธิปไตยสากล ประจำปี 2565 ในรูปแบบออนไลน์ (ผ่านโปรแกรม Zoom) ภายใต้หัวข้อ “ปฏิญญาสากลสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยใน 25 ปีที่ผ่านมาได้ยืนหยัดเหนือกาลเวลาหรือไม่?” (The IPU Universal Declaration on Democracy: 25 years on, has the declaration stood the test of time?) ในโอกาสพิเศษที่ในปี 2565 เป็นวาระครบรอบ 25 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยประชาธิปไตย ซึ่งจัดขึ้นโดยสหภาพรัฐสภาทั้งในรูปแบบปกติ (in-person) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และรูปแบบออนไลน์ด้วย ทั้งนี้ ผู้อภิปรายหลัก (Panelist) ในกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา Dr. Hanafy Ali Gebaly ประธานสภาผู้แทนราษฎรอียิปต์ Ms. Hend Abdalrahman Al-Muftah ผู้แทนถาวรรัฐกาตาร์ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา และ Ms. Corinne Momal-Vanian ผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิโคฟี อันนัน และมีสมาชิกรัฐสภาจากประเทศสมาชิกสหภาพรัฐสภาทั่วโลกเข้าร่วมการอภิปราย

ในช่วงเปิดการอภิปราย ประธานสหภาพรัฐสภาได้แสดงความยินดีที่ปฏิญญาสากลสภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยได้มีอายุครบรอบ 25 ปีแล้ว และกล่าวว่าประชาธิปไตยเปรียบเสมือนดอกไม้ที่ต้องหมั่นดูแลอยู่เสมอเพื่อให้ผลิดอกงดงามต่อไปได้ท่ามกลางความท้ายทายจากวิฤตการณ์ต่าง ๆ จากนั้น Ms. Gunilla von Hall ผู้ดำเนินรายการได้นำเข้าสู่การอภิปรายโดยสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ (1) ความสำคัญของประชาธิปไตยในฐานะกลไกการขับเคลื่อนสันติภาพ ความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการตอบสนองต่อความท้าทายของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) ความท้าทายที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้หลายประเทศต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปและบังคับใช้มาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจจำกัดลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางเมืองและสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน (3) ความแตกต่างหลากหลายของประชาธิปไตย อาทิ ระบบการเลือกตั้งและวัฒนธรรมการเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นกรณีศึกษาซึ่งกันและกัน (4) การเสริมสร้างและฟื้นฟูประชาธิปไตยในยุคหลังโควิด-19 ที่คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่ม (Inclusive Democracy) โดยเฉพาะสตรีและเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีสัญญาณที่ดีจากจำนวนสมาชิกรัฐสภาสตรีและยุวสมาชิกรัฐสภา (Young Parliamentarian) (สมาชิกรัฐสภาอายุน้อยกว่า 45 ปี) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 5) การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยในการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้ ในระหว่างการอภิปราย U Aung Kyi Nyunt ประธานคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (Committee Representing the Pyidaungsu Hluttaw: CRPH) หรือรัฐสภาพลัดถิ่นของเมียนมาที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ในฐานะแขกรับเชิญพิเศษ ได้กล่าวเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาเมียนมาที่ได้รับเลือกตั้งโดยชอบธรรม อีกทั้งสนับสนุนให้เมียนมาได้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยเร็ว เนื่องจากภายหลังการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา มีนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยและประชาชนชาวเมียนมาที่ต่อต้านรัฐบาลทหารถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมและถูกสังหารเป็นจำนวนมาก และสถานการณ์ ณ ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น 

เครดิตภาพและข่าว : โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th