การประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ 9 >> ข่าวสาร >> ข่าวประชาสัมพันธ์
การประชุมหัวข้อ“บทบาทของรัฐสภาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต”



เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯนายดิศกุล เกษมสวัสดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติในฐานะผู้แทนสำนักงานเลขาธิการลูกเสือแห่งชาติ นายตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา และนาย Olivier Mathieu ประธานกรรมการบริหารสมาคมลูกเสือแห่งฝรั่งเศส ร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ“บทบาทของรัฐสภาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Roles of the Parliament to Ensure Lifelong Learning)โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก พลโท ศุภวิทย์ มุตตามระ ชมรมลูกเสือรัฐสภาไทย และนางวรวิมล รัตนมาลี สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม ๓๐ คน จากนานาประเทศ พร้อมด้วยเยาวชนซึ่งเป็นลูกเสือจากประเทศต่าง ๆวิทยากรได้อภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งในปัจจุบันแต่ละประเทศต่างให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ ๔ ขององค์การสหประชาชาติกิจการลูกเสือนับเป็นกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนลูกเสือในแต่ละช่วงวัย ควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบตามโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาการต่อแนวทางการศึกษาของเด็กนักเรียนหรือเยาวชน เพื่อสร้างทักษะภาวะผู้นำและยึดมั่นในหลักจริยธรรมเพื่อให้เติบโตเป็นประชากรที่ดีและมีคุณภาพ โดยได้มีการนำศาสตร์พระราชาในด้านการศึกษาและการส่งเสริมกิจการลูกเสือไทยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรที่ส่งเสริมศาสตร์ด้านการศึกษา Active Learning ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป ประยุกต์ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการรวมหลักสามประการได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ Active Learning สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการศึกษาเรียนรู้ในทุกระดับชั้น จึงถือเป็นกระบวนการการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ นอกจากนี้ นาย Olivier Mathieu ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตของฝรั่งเศส ที่มุ่งเน้นการฝึกอบรมและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอบรมด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาคุณภาพของประชากร โดยการบำเพ็ญประโยชน์จำนวน ๒๐ ชั่วโมงของลูกเสือ จะสามารถโอนย้ายไปเป็นจำนวนหน่วยกิตในการศึกษาหรือจำนวนชั่วโมงในการทำงานได้ ทั้งนี้ คาดว่าการสร้างมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๕ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ภายหลังเสร็จสิ้นการอภิปรายบนเวที นาย Mohammed Asil ผู้แทนจากประเทศซูดานได้แสดงความเห็นต่อที่ประชุมว่า กิจการลูกเสือของซูดานอาจมีความแตกต่างจากของประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย ตนเห็นว่าแนวคิดของประเทศฝรั่งเศสในการโอนจำนวน ๒๐ ชั่วโมงของการบำเพ็ญประโยชน์ไปใช้ในการศึกษาหรือการทำงานมีความน่าสนใจมาก ขณะนี้ ซูดานมีเยาวชนเป็นลูกเสือจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ คน และหวังว่าจำนวนลูกเสือของประเทศซูดานจะเพิ่มเป็น ๒ ล้านคนภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ตนเห็นว่าการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นในการประชุมครั้งนี้มีประโยชน์มาก เนื่องจากแต่ละประเทศก็มีแนวทางการดำเนินกิจการลูกเสือเป็นของตนเอง
download download Download all images download
 
 
 
สงวนลิขสิทธิ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
(อาคารทิปโก้ทาวเวอร์) ถ.พระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 Email : wspu9th@gmail.com โทร. 02-357-3100
ต่อ 3153 (สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ) , ต่อ 3142 (สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) , ต่อ 3183 (สัานักภาษาต่างประเทศ)
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า

วันที่เริ่มเผยแพร่ 1 สิงหาคม 2561