วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว อาคารรัฐสภา นายนพดล ปัทมะ ประธานคณะ กมธ.การต่างประเทศ แถลงข่าว ผลการพิจารณาของคณะ กมธ. กรณีแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เชิญผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมพิจารณาประเด็นการทำงานที่ผิดกฎหมายของแรงงานไทย ทั้งนี้ คณะ กมธ. มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 
1. การแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายในต่างประเทศอย่างยั่งยืนนั้นต้องทำโดยการหาตลาดให้แรงงานไทยให้มีตำแหน่งงานมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการไปทำงานในต่างประเทศของแรงงานไทย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี
2. ผลักดันการเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ถูกกฎหมายให้มากขึ้น
3. ผลักดันการนิรโทษกรรมแรงงานผิดกฎหมายหรือผีน้อยที่ไม่มีสวัสดิการแรงงานตามกฎหมาย 
4. ประเด็นที่มีข่าวว่าญี่ปุ่นอาจทบทวนการยกเลิก Free – Visa นั้น ฝ่ายไทยจะเพิ่มมาตรการการประชาสัมพันธ์ไม่ให้มีการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ร่วมมือกับสายการบิน บริษัททัวร์ ควบคุมดูแลไม่ให้หนีทัวร์ และอยู่เกินระยะที่วีซ่ากำหนด รวมทั้งจับกุมนายหน้าหางานเถื่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประเทศปลายทาง นอกจากนี้ 

นายนพดล ปัทมะ ยังได้กล่าวถึงกรณีเด็กไร้สัญชาติ จำนวน 19 คน ที่อาจถูกผลักดันกลับประเทศเมียนมา ซึ่งคณะ กมธ. ไม่เห็นด้วยในการผลักดันเด็กกลับประเทศ เนื่องจากอาจจะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพราะรัฐมีหน้าที่ที่ต้องให้การสงเคราะห์เด็กไม่ว่าจะมีสัญชาติหรือไร้สัญชาติการส่งเด็กกลับประเทศอาจเป็นการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Conventions on the Rights of the Child) ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังผลักดันเรื่องจุดมนุษยธรรมที่แม่สอด เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในเมียนมา เป็นการแสดงบทบาทของไทยอย่างสร้างสรรค์ในภูมิภาค คณะ กมธ. เห็นว่าการผลักดันเด็ก 19 คนกลับประเทศเมียนมาจะเป็นการกระทำที่สวนทาง และกระทบต่อหลักการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งนี้ การคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติไม่ได้เพียงแต่เป็นการดำเนินการทางมนุษยธรรมเท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สร้างเกียรติภูมิและทำให้ประเทศไทยมีความสง่างามในเวทีระหว่างประเทศ

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562