FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ประธานคณะอนุ กมธ.เพื่อพิจารณาศึกษาด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ ในคณะ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และนายสุรพงษ์ กองจันทึก เลขานุการคณะอนุ กมธ. แถลงข่าวกรณีคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศให้ป่าแก่งกระจาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 27 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ จุดให้สัมภาษณ์ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ประธานคณะอนุ กมธ.เพื่อพิจารณาศึกษาด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ ในคณะ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และนายสุรพงษ์ กองจันทึก เลขานุการคณะอนุ กมธ. แถลงข่าวกรณีคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศให้ป่าแก่งกระจาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยให้ข้อสังเกตและข้อกังวลต่อการประกาศดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมการ 21 ชาติ รวมทั้งประเทศไทย ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้เป็นมรดกโลก ซึ่งไม่ได้มีการพิจารณาในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งที่ตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าให้ชะลอการขึ้นทะเบียนพื้นที่ป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก เนื่องจากยังมีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงที่บางกลอย 
2. เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64 คณะอนุ กมธ.เพื่อพิจารณาศึกษาด้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ ได้หารือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่ง กสม. ได้มีข้อสังเกตเสนอแนะให้รัฐบาลชะลอการประกาศหรือการเสนอป่าแก่งประจานเป็นมรดกโลก แต่รัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับนำเสนอ จนในที่สุดได้มีการขึ้นทะเบียนให้ป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
3. ในรายงานของคณะ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาและตอบกลับมายังคณะ กมธ. ว่าให้ชะลอหรือหยุดดำเนินคดีกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีปัญหา

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมรดกโลก ได้ให้ข้อสังเกตกับประเทศไทยต่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของป่าแก่งกระจาน 3 ข้อ ดังนี้
1. ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุงขอบเขตพื้นที่มรดกโลกบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี ได้แก่ ประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
2. ต้องรับประกันว่าจะมีการคุ้มครองและบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกอย่างเต็มที่
3. ต้องรับประกันว่าจะมีการปรึกษาหารือร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่มรดกโลก

โดยประเทศไทยจะต้องรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการเหล่านี้ให้แก่คณะกรรมการมรดกโลกทราบในวันที่ 1 ธ.ค. 64 ดังนั้น คณะอนุ กมธ. จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล ดังนี้
1. รัฐต้องยอมรับการมีตัวตนและการมีอยู่ของชุมชนกะเหรี่ยงในเขตมรดกโลกแก่งกระจานในฐานะชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2561 
2. รัฐต้องให้ความคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมให้สามารถดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 เรื่อง แนวนโยบายและหลักการในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยให้สำรวจที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ตามมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
3. รัฐต้องยุติการจับกุม การดำเนินคดี และถอนฟ้องชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม 28 คน ที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่มรดกโลกที่ได้อยู่อาศัยและทำมาหากินในพื้นที่ดั้งเดิมของบรรพบุรุษ รวมทั้งสนับสนุนให้คนเหล่านี้มีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่มรดกโลก
4. รัฐต้องเร่งรัดในการเสนอร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการยกร่างโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็ว

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562