FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน รับยื่นหนังสือจากนายเฉลิม ชั่งทองมะดัน รองประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบประเทศไทยและนายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอให้ดูแลแรงงานนอกระบบให้เป็นเช่นเดียวกับที่แรงงานในระบบทั่วไปที่ได้รับการดูแลจากทางภาครัฐ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 12.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน รับยื่นหนังสือจากนายเฉลิม ชั่งทองมะดัน รองประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบประเทศไทยและนายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอให้ดูแลแรงงานนอกระบบให้เป็นเช่นเดียวกับที่แรงงานในระบบทั่วไปที่ได้รับการดูแลจากทางภาครัฐ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.65 สมาคมฯ ได้จัดเวทีเสวนาสาธารณะ เรื่อง วิกฤตข้าวของแพง ค่าแรงต่ำ แรงงานนอกระบบจะก้าวพ้นอย่างไร ณ โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค  กรุงเทพฯ โดยได้ข้อสรุปจากการเสวนาที่สำคัญ คือ
1. แรงงานนอกระบบหลายคนไม่มีงานและรายได้ ต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ และแบกรับต้นทุนในการประกอบอาชีพที่มีต้นทุนราคาสูงขึ้น แต่ค่าแรงของแรงงานนอกระบบกลับไม่สามารถปรับขึ้นได้
2. ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ลูกจ้างทำงานบ้านมีทั้งถูกเลิกจ้าง และถูกลดชั่วโมงการทำงาน โดยไม่ได้รับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง และสิทธิประกันการว่างงาน เพราะไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
3. กรุงเทพฯ มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนจำนวนประมาณ 1,300,000 คัน และยังไม่ขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้คนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสามารถขับรถรับส่งผู้โดยสารข้ามเขตได้ แต่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนนั้นไม่สามารถรับส่งข้ามเขตได้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต เป็นข้อจำกัดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องแบกรับต้นทุนค่าน้ำมัน และเข้าไม่ถึงการใช้แอปพลิเคชันที่เป็นระบบบริการทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
4. ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ไม่มีพื้นที่ในการประกอบอาชีพ จากการถูกยกเลิกจุดผ่อนผันถึง 683 จุด จาก 773 จุด ซึ่งสร้างความยากลำบากในการดำรงชีวิตแก่ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีมากกว่า 200,000 คน ในกรุงเทพฯ เป็นอย่างมากแรงงานนอกระบบ เป็นตัวจักรสำคัญของระบบเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อให้กลุ่มแรงงาน

นอกระบบซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการดำรงชีพ จึงขอเรียกร้อง ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลมีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาพลังงาน เช่น อาหาร นมผงเด็ก ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ก๊าซหุงต้ม น้ำมันพืช ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง และแก๊สที่ใช้สำหรับยานพาหนะ
2. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าถึงการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และแหล่งทุนในการซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่ออากาศที่บริสุทธิ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. ขอให้รัฐบาลคืนพื้นที่ทำการค้าให้แก่หาบเร่แผงลอย ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหารริมทาง ถนนคนเดิน และตลาดในหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก และการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ราคาถูก และยุติธรรม
4. ขอให้รัฐบาลส่งเสริมการจัดจ้างคนเก็บของเก่า และคนคัดแยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะอันก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน รวมทั้งขอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการพิเศษ เรื่องการจัดซื้อ จัดจ้าง และงานบริการแก่ผู้ทำการผลิตรายเล็ก ที่ไม่ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคล เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ผลิตเหล่านี้สามารถผลิต และจำหน่ายสินค้า ให้มีรายได้และเกิดการหมุนเวียน ของเศรษฐกิจฐานราก

ด้านนายสุเทพ อู่อ้น กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมคณะ กมธ. ในวันที่ 23 พ.ย. 65  โดยจะเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพราะแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับการดูแลเพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงต่อไป

download download Download all images download


  • การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
Untitled Document

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร : 0 2244 2500
e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562